การเคลียร์หูแบบ Frenzel กับ Valsalva สำหรับฟรีไดฟ์

June 9, 2023

การเคลียร์หูแบบ Frenzel กับ Valsalva สำหรับฟรีไดฟ์

Frenzel vs. Valsalva Equalization for Freedive

ฝึกการเคลียร์หู

การเคลียร์หู เป็นเรื่องใหญ่สำหรับนักฟรีไดฟ์หลายๆ คน ตั้งแต่ผู้เริ่มต้นเรียนฟรีไดฟ์ อาจจนไปถึงระดับมืออาชีพ หรือแม้กระทั่งนักกีฬาที่ไปเจออุปสรรค์ใหม่ๆ ในระดับความลึกที่เพิ่มขึ้น การเคลียร์หูนั้นมีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมและรู้จักกันดีสำหรับนักฟรีไดฟ์มือใหม่ นั่นก็คือ Valsalva maneuver (วอลซอลวา) ซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานของมนุษย์ที่ใช้ในการปรับแรงดันในช่องหู และ Frenzel maneuver (เฟนเซล) เป็นเทคนิคที่สูงขึ้น ที่ใช้ในการปรับแรงดันที่ช่องหูได้เหมือนกัน แต่คุณรู้ถึงความแตกต่างระหว่างการเคลียร์หู Frenzel กับ Valsalva หรือไม่?

เรามาดูความแตกต่างทางกายภาพเชิงลึก และวิธีการเคลียร์หูทั้งสองแบบ เพื่อนำไปปรับใช้ในแต่ละสถานการณ์กันดีกว่า หลายคนมักจะบอกว่าวิธีแบบ Valsalva เป็นวิธีที่เราจะเข้าใจและฝึกฝนได้ง่ายที่สุด แต่จะไม่สามารถดำน้ำลึกได้ ในอีกมุมหนึ่ง Frenzel เป็นวิธีการเคลียร์หูที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ในการดำน้ำฟรีไดฟ์ แต่สำหรับมือใหม่แล้ว การเรียนรู้เทคนิคนี้ตั้งแต่ต้น อาจทำให้การเคลียร์หูแย่ลงได้เหมือนกัน

The Anatomy of Equalization

กายภาพการปรับสมดุล (การเคลียร์หู)

กายภาพช่องจมูก
  • Soft palate เพดานเหงือกอ่อนใช้ควบคุมการไหลของอากาศเข้าและออกจากปอด ไปยังปาก จมูก หรือทั้งสองอย่างพร้อมกัน
  • Vocal folds / Glottis  เส้นเสียงเป็นส่วนควบคุมอากาศจากปอด ออกมาสู่ปากหรือจมูก เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่อยู่ตรงหลอดลม เมื่อคุณกลั้นหายใจ เส้นเสียงของคุณจะปิด และใช้ในการเปล่งเสียง
  • Larynx  กล่องเสียงท่อนี้ตั้งอยู่เหนือหลอดลม ด้านหน้าของหลอดอาหาร เพื่อควบคุมการไหลของอากาศ
  • Epiglottis ฝาปิดกล่องเสียงแผ่นกระดูกอ่อนที่อยู่ด้านบนของกล่องเสียง ใกล้กับโคนลิ้น เพื่อแยกระหว่างทางเดินอาหารและหลอดลม ป้องกันไม่ให้อาหารเข้าสู่กล่องเสียง
กายภาพหู
  • Eustachian tube  ท่อยูสเตเชียนท่อที่เชื่อมต่อหูชั้นกลางกับโพรงจมูก จะเป็นช่องผ่านที่นำลมเข้าสู่หูชั้นกลาง
  • Middle ear  หูชั้นกลางส่วนกลางของหู ระหว่างแก้วหู ซึ่งเป็นจุดที่เมื่อแรงดันน้ำเพิ่มขึ้นและสร้างแรงกดบนแก้วหูของคุณ ทำให้แก้วหูงอเข้าด้านใน และเป็นสาเหตุว่า ทำไมคุณถึงรู้สึกถึงแรงกดหรือเจ็บหู หากคุณลงไปในน้ำลึกมาก โดยไม่ได้ปรับแรงดันให้เหมาะสม

การเคลียร์หูแบบ Valsalva Maneuver

Valsalva

การเคลียร์หู แบบ Valsalva เป็นการบังคับอากาศออกจากปอดด้วยการปิดปาก บีบจมูก แล้วพยายามหายใจออกทางจมูก จะเกิดแรงดันสะสมในโพรงจมูกและอากาศจะพยายามหาทางออก ทำให้ ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) เปิดออก และส่งลมไปที่ช่องหูแทน ปกติแล้วมนุษย์เราใช้วิธีนี้เพื่อปรับแรงดันภายในหู เมื่อเราเดินทางไปที่สูงขึ้นจากพื้นดิน เช่น ขึ้นเครื่องบิน หรือขึ้นเขาสูง เป็นต้น เทคนิคนี้ตั้งชื่อตาม คุณอันโตนิโอ มาเรีย วอลซอลวา เป็นนักกายวิภาคศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับหูของมนุษย์

Valsalva นั้น เป็นวิธีเรียนรู้การปรับแรงดันใต้น้ำได้ดีที่สุด เพราะเป็นวิธีธรรมชาติที่สุดสำหรับมนุษย์เรา ซึ่งจะทำให้เข้าใจการเดินทางของลมจากโพรงจมูกไปสู่ช่องหูชั้นกลาง และเข้าใจแรงดันที่จำเป็นต้องส่งเข้าไปที่หูชั้นกลางอีกด้วย แต่มือใหม่หลายคนมักจะข้ามขั้นตอนนี้ แล้วไปฝึกเทคนิคที่สูงกว่า แน่นอนการเรียนรู้และทำความเข้าใจยากกว่า ทำให้หลายคนไม่สามารถฝึกการเคลียร์ได้ดีในระดับเริ่มต้นได้ สามารถใช้การเคลียร์หู แบบ Valsalva ดำน้ำได้ลึกสุด 30 เมตร จุดสุดท้ายที่เราจะสามารถนำอากาศออกจากปอดได้อย่างสบายตัวและจุดที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บใต้น้ำได้

การเคลียร์หูแบบนี้ อาจจะต้องใช้แรงเยอะในการส่งลมขึ้นมา นี่อาจเป็นอีกเหตุผลที่ทุกคนไม่อยากจะฝึกมัน แต่รู้ไหมว่า ถ้าเราสามารถเคลียร์หู แบบ Valsalva ได้จนถึงระยะ 30 เมตร ในความลึก กระบังลมเราจะมีความแข็งแรงมากขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้เราลดแรงในการหายใจได้ การผ่อนคลายฟรีไดฟ์ก็ยิ่งง่ายขึ้น รวมถึงการเคลียร์หูในแบบอื่นๆ ก็จะทำได้ง่ายมากขึ้น สำหรับคนที่ฝึกการเคลียร์หูแบบ Valsalva มาก่อนและมีความแข็งแรงแล้ว จะเปลี่ยนไปเรียนรู้วิธีอื่นได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มความลึกไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ

Valsalva ต้องใช้แรงเยอะ บาดเจ็บง่าย จริงหรือ?

อาจมีคนมาบอกคุณว่า… ไม่แนะนำให้ฝึกการเคลียร์หูแบบ Valsalva เพราะคุณต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการบีบลมหรือส่งลมขึ้นมา จึงมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่ปอดในขณะที่เราไปทำในที่ลึกขึ้นได้ แต่เราจะรีบลงไปในความลึกทำไม ในเมื่อคุณยังไม่สามารถเคลียร์หูได้ดีด้วยซ้ำ นั่นก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน จากการที่ฝืนตัวเองลงไปในความลึก ทั้งที่ยังเคลียร์หูแบบ Valsalva ได้ไม่ดี

อีกอย่างการเคลียร์หู แบบ Valsalva จะต้องใช้แรงมากในการส่งลมขึ้นมา มันก็ขัดแย้งกับสิ่งที่ฟรีไดฟ์ต้องการ คือ การดำน้ำด้วยความผ่อนคลาย หมายความว่าการเคลียร์หู แบบ Valsalva จะต้องใช้พลังงานมากในการทำแต่ละครั้ง ออกซิเจนของคุณก็ลดลงอย่างเร็วได้มากกว่าการเคลียร์หูแบบ Frenzel maneuver

มันจะไม่มีดีกว่าหรอที่จะไปเริ่มต้นฝึก Frenzel เลย เพราะสุดท้ายก็ต้องมาใช้ Frenzel อยู่ดี?

อย่างที่บอกไปข้างต้น ถ้าเราฝึกให้เราเข้าใจกระบวนการปรับแรงดันและทำให้กล้ามเนื้อของเรานั้นแข็งแรงขึ้นแล้ว หลังจากนั้นคุณจะเปลี่ยนไปใช้วิธีไหน มันจะทำให้คุณเข้าใจเทคนิคใหม่ได้เร็วมากขึ้น ดีกว่าใช้เวลาฝึก Frenzel เป็นปีหรือสองปี แต่กับคนที่ ผ่านการฝึกการเคลียร์หูแบบ Valsalva มา อาจจะใช้เวลาที่สั้นกว่าและดำน้ำไปได้ลึกกว่าด้วย

การเคลียร์หูแบบ Frenzel Maneuver

Frenzel

การเคลียร์หู แบบ Frenzel maneuver เป็นเทคนิคการปรับแรงดันในช่องหู โดยการใช้ลมในช่องปากส่งกลับขึ้นมาที่โพร่งจมูก และผ่านท่อยูสเตเชียนเข้าไปที่หูชั้นกลาง เดิมทีเทคนิคนี้มากจาก Hermann Frenzel ผู้บัญชาการทหาร ได้สอนให้กับนักบินทิ้งระเบิดดำน้ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การเคลียร์หู แบบ Frenzel จะทำได้เร็วและคล่องตัวกว่า ในวงการนักดำน้ำฟรีไดฟ์ก็นิยมใช้การเป็นอย่างมาก และเป็นรูปแบบการเคลียร์หู หลักที่นักดำน้ำฟรีไดฟ์ได้ใช้กัน วิธีนี้ค่อยข้างยากในการเรียนรู้และฝึกฝนในช่วงเริ่มต้น เพราะต้องเรียนรู้การควบคุมการใช้กล้ามเนื้อหลายส่วนในช่องปากให้สอดคล้องกัน เพื่อดันอากาศมาที่โพรงจมูกให้ได้ กล้ามเนื้อหลักที่จะต้องใช้ คือ กล้ามเนื้อโคนลิ้น หรือในส่วนของ Larynx ในการอัดอากาศที่อยู่ในช่องปาก ในขณะเดียวกันจะต้องปิดกล่องเสียงเพื่อไม่ให้อากาศสามารถไหลกลับไปที่ปอดได้ เมื่อ Soft palate เพดานเหงือกอ่อน เปิดออก นิ้วที่บีบจมูกอยู่ทำให้อากาศไม่สามารถออกทางจมูกได้ และเกิดแรงดันในโพร่งจมูกผลักให้ท่อยูสเตเชียนเปิดออกและอากาศจะเข้าไปในหูชั้นกลาง

ทำไมการเคลียร์หู แบบ Frenzel ถึงนิยมในการฟรีไดฟ์?

แน่นอนว่า กล้ามเนื้อในช่องปากเป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็ก ทำให้ลดการใช้พลังงานในการเคลียร์หูแต่ละครั้งได้เยอะ ออกซิเจนไม่ถูกใช้ไปมาก และทำให้สามารถอยู่ในสภาวะผ่อนคลายได้ดีเหมือนเดิม อีกทั้งในความลึกที่มากขึ้น ระดับน้ำลึก 30 – 40 เมตรขึ้นไป เราไม่สามารถนำอากาศออกมาจากปอดของเราได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ การเคลียร์หูแบบ Frenzel  จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมในการดำน้ำลึกนั้นเอง แต่ก็มีหลายคนอาจจะทำวิธีนี้ได้เองโดยตามธรรมชาติ ไม่รู้ว่าทำได้ยังไงเหมือนกัน

ความยากของการเคลียร์หูแบบ Frenzel  จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการควบคุมกล้ามเนื้อขนาดเล็กๆ ในช่องปาก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำ การรับรู้ถึงกล้ามเนื้อส่วนนั้นจึงเป็นไปได้ยาก อาจจะต้องใช้เวลาฝึกการรับรู้ถึงกล้ามและการควบคุมกล้ามให้ได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย กล้ามเนื้อที่เราจำเป็นต้องฝึกควบคุมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น คือ

  • Vocal folds / Glottis – เส้นเสียง
  • Soft palate เพดานเหงือกอ่อน
  • Larynx – กล้ามเนื้อโคนลิ้น

ฝึกการเคลียร์หู Frenzel อย่างถูกต้องได้อย่างไร?

โรงเรียนสอนดำน้ำฟรีไดฟ์ของเรา มีการจัดกิจกรรม Workshop เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเคลียร์หูแบบ Frenzel ด้วยเช่นกัน คุณสามารถติดตามตาราง Workshop ได้ที่ FB  Page APNEA Thailand กันได้เลย!

สุดท้ายนี้… ทริคในการเคลียร์หู เราจะรู้ได้ไงว่าเราเคลียร์หูได้ดีหรือไม่!! ลองสังเกตุการเคลียร์หูของคุณดู

ยิ่งดำน้ำลึกขึ้นการเคลียร์หูจะต้องง่ายขึ้นไปเรื่อยๆหากคุณยังรู้สึกว่า ยิ่งลงลึก ยิ่งเคลียร์หูยาก แสดงว่าคุณยังไม่เข้าใจการเคลียร์หู หากได้ฝึกฝนจนทำได้อย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะลึกแค่ไหน คุณก็จะไปได้โดยที่ไม่มีอุปสรรค หลังจากนั้นถ้าไปต่อไม่ได้ ค่อยมาฝึกเทคนิคที่สูงขึ้นกันต่อไป

บทความโดย : ครูกอฟ APNEA Thailand

Share This Post!

About the author : admin

Leave A Comment

ฟรีไดฟ์มีแบ่งประเภทด้วยหรือ?2021-06-10T13:45:41+07:00

ฟรีไดฟ์ได้มีการแบ่งประเภทออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท ตามลักษณะการกลั้นหายใจ 

Static Apnea – กลั้นหายใจอยู่กับที่ หนึ่งลมหายใจกลั้นให้ได้นานที่สุด

Dynamic Apnea with fins – ดำนำในแนวระนาบ หนึ่งลมหายใจไปให้ได้ไกลที่สุด โดยใช้ฟิน

Dynamic Apnea nofin – ดำนำในแนวระนาบ หนึ่งลมหายใจไปให้ได้ไกลที่สุด โดยไม่ใช้ฟิน

Free Immersion – การดึงเชือกลงไปในความลึกและดึงเชือกกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ

Constant Weight with fins – ดำน้ำดิ่งลงไปและว่ายกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ สามารถจับเชือกได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้นตอนกลับตัว โดยใช้ฟิน

Constant Weight nofin – ดำน้ำดิ่งลงไปและว่ายกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ สามารถจับเชือกได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้นตอนกลับตัว โดยไม่ใช่ฟิน

Varible Weight – ใช้อุปกรณ์น้ำหนักพาลงไปในความลึก กลับขึ้นมาโดยการว่ายหรือดึงเชือก

No Limits – ใช้อุปกรณ์น้ำหนักลงไปในความลึก และกลับขึ้นมาด้วยอุปกรณ์

ในคอร์สเรียนนักเรียนทุกคนจะได้เรียนในทุกประเภท ในแต่ระดับของฟรีไดฟ์ที่เข้าร่วมหลักสูตร

ฟรีไดฟ์มีอะไรอันตรายบ้าง?2021-06-10T13:44:18+07:00

แน่นอนกีฬาผาดโผน มีความอันตรายแฝงอยู่แล้ว ซึ่งฟรีไดฟ์ก็เช่นกัน มีความอันตรายมากมายในระหว่างที่กิจกรรมเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหมดสติระหว่างการกลั้นหายใจใต้น้ำหรือผิวน้ำก็ตาม เกิดอาการชักบนผิวน้ำ ได้รับการบาดเจ็บจากแรงดัน หู จมูก ปอด ซึ่งแต่ละอย่างอันตรายน้อยจนถึงระดับรุนแรง อาจไม่สามารถดำน้ำต่อได้หรือเสียชีวิต แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปถ้าคุณได้เรียนฟรีไดฟ์อย่างถูกต้องและถูกวิธี เราสามารถหลีกเลี่ยงความอันตรางท่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งในคอร์สเรียนของเราจะมีการสอนให้เข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน การเรียนฟรีไดฟ์อย่างถูกวิธีและทำให้เข้าใจฟรีไดฟ์ได้อย่างลึกซึ้ง คุณก็จะสามารถดำน้ำได้ด้วยความปลอดภัย

เรียนจบแล้วได้ใบรับรองหลักสูตรหรือไม่?2021-06-10T13:44:10+07:00

ทางโรงเรียนมีครูฝึกที่ได้รับรองจากองค์กรฟรีไดฟ์ AIDA ในระดับสากลที่มีมาตรฐานสูงสุด และ Molchanovs นักเรียนทุกคนที่ผ่านหลักสูตรเรียบร้อยแล้วจะได้รับไปรับรองจากหลักสูตรฟรีไดฟ์ที่คุณได้รับเรียน เว้นแต่คุณจะไม่ผ่านเกณฑ์และครบเวลาที่หลักสูตรกำหนด

Wetsuit จำเป็นต้องมีไหม?2021-06-10T13:43:37+07:00

Wetsuit เป็นอีกอย่างที่ใช้ในการฟรีไดฟ์ เวทสูททำหน้าที่ช่วยคุมอุณหภูมิในร่างกายไม่ให้หนาวเย็นเวลาอยู่ในน้ำที่นาน และยังช่วยป้องกันสัตว์มีพิษในทะเลได้อีกด้วย สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ในระหว่างเรียนทางโรงเรียนมีเวทสูตรให้เช่าสำหรับคนที่หนาวง่ายเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน แต่ถ้าออกไปดำน้ำเที่ยวเล่นทั่วไปการที่ได้ใส่เวทสูตรหรือชุดแขนยาวขายาว ก็สามารถป้องกันสัตว์มีพิษในทะเลได้เช่นกัน ในระดับต่อไปจริงจังกับกิจกรรมฟรีไดฟ์มีการออกซ้อมบ่อยๆ ก็ควรมีเวทสูทติดตัวไว้อย่างน้อยหนึ่งตัวก็ดี

อุปกรณ์เริ่มต้นฟรีไดฟ์มีอะไรบ้าง ต้องมีไปก่อนเรียนหรือเปล่า?2021-06-10T13:43:32+07:00

เริ่มต้นในคอร์สเรียนทางโรงเรียนได้จัดอุปกรณ์ทั้งหมดในการเรียนฟรีไดฟ์ไว้หมดแล้ว นักเรียนสามารถใช้และได้ลองอุปกรณ์ต่างๆได้โดยที่ยังไม่ต้องซื้อมาก่อนเริ่มเรียน ถ้ารู้สึกชอบและอย่างจริงจังกับกิจกรรมนี้ก็สามารถซื้ออุปกรณ์เป็นของตัวเองได้เช่นการ ทางโรงเรียนก็มีร้านพันธมิตรซึ่งมีส่วนลดในการซื้อสินค้าฟรีไดฟ์ให้กับนักเรียนทุกคน และทางครูกับสตาฟภายในโรงเรียนพร้อมให้คำปรึกษากับการเลือกซื้ออุปกรณ์ให้ถูกวัตถุประสงค์ในการใช้งานกับราคาที่คุ้มค่าที่จะต้องจ่าย เพื่อใหม่ได้สินค้าในราคาที่ไม่แพงเกินไป

สามารถไปเรียนคนเดียวได้ไหม เรียนแล้วไปดำน้ำคนเดียวได้หรือเปล่า?2021-06-10T13:43:06+07:00

การเรียนฟรีไดฟ์แน่นอนสามารถเรียนคนเดียวได้ ไม่จำเป็นต้องมีเพื่อนมาเรียนด้วยก็ได้ เพราะในคราสเรียนคุณจะได้พบเจอเพื่อนๆใหม่ที่สนใจกิจกรรมแบบเดียวกับคุณ ทำให้คุณได้มิตรภาพใหม่กลับไปและออกไปดำน้ำด้วยกันได้ การดำน้ำแบบฟรีไดฟ์มีกฏเหล็กสำหรับการดำน้ำอยู่คือ “Never Dive Alone” ห้ามดำน้ำคนเดียวเด็ดขาด ต้องมีคู่ดำน้ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยทั้งสองคน การออกไปดำน้ำเที่ยวเล่นทั่วไปก็ควรมีเพื่อนออกไปดำน้ำด้วย ห้ามไปคนเดียวเด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุและไม่สามารถมีใครช่วยเหลือเราได้

ทำอย่างไรถึงกลั้นหายใจได้นานๆ?2021-06-10T13:42:29+07:00

การกลั้นหายใจได้นาน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นการหายใจให้ถูกวิธีในแบบของฟรีไดฟ์ ทักษาะการผ่อนคลาย การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนที่เริ่มกลั้นหายใจ และการฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีเพื่อพัฒนาศักยภาพร่างกายให้ดีขึ้นไป ทั้งหมดนี้มีอยู่ในคอร์สเรียนของเราซึ่งคนที่ได้เข้าคอร์สเรียนจะได้รับการอบรมในเนื้อหาส่วนนี้

เรียนยากไหม? จะทำได้หรือเปล่า?2021-06-10T13:41:52+07:00

การเรียรฟรีไดฟ์ ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปที่ทุกคนจะสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับทักษาะการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่าจะไปพัฒนาไปได้เร็วและดีแค่ไหน ซึ่งแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป ในคอร์สเรียนได้กำหนดวันเรียนไว้อย่างน้อย 1 วันที่ทำให้คุณเรียนรู้ทักษะของฟรีไดฟ์เบื้อต้นทั้งหมด แต่ถ้ายังไม่สามารถทำได้ดีหรือยังไม่ได้ ก็สามารถเรียนซ้ำได้กับทางโรงเรียนของเรา จะไม่ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคอร์สเรียนใหม่ที่เกิดขึ้น ทางโรงเรียนมีนโยบาย ให้คนที่เรียนกับทางเราได้รับข้อมูลและการปฏิบัติอย่างครบถ้วน เพราะอย่างนั้นไม่ต้องกังวลไป ทำไม่ได้ก็กลับมาเรียนซ้ำใหม่ได้จนกว่าคุณจะสำเร็จผ่านตามเกณฑ์ของหลักสูตรไปได้

มีโรคประจำตัวเรียนได้ไหม หรือไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำเล่นกีฬาฟรีไดฟ์ได้หรือไม่?2021-06-10T13:41:12+07:00

ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงหรือมีโรคประจำตัวบางอย่างก็จะสามารถเรียนได้เช่นกัน โรคประจำตัวที่ไม่สามารถเรียนได้ คือ โรคความดั่นโลหิตต่ำ โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคเกี่ยวกับปอด โรคภาวะติดเชื้อรุนแรง โรคประสาทขั้นรุนเรง เป็นต้น ส่วนบุคคลที่ร่างกายไม่แข็งแรงมากก็สามารถเรียนได้ฟรีไดฟ์จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นได้ แต่การเล่นกีฬาก็ควรหมั่นทำให้ร่างกายแข็งแรงและปลอดโรคจะดีที่สุด

ว่ายน้ำไม่เป็นเรียนฟรีไดฟ์ได้หรือไม่?2021-06-10T13:40:07+07:00

บุคคลที่ว่ายน้ำไปเป็นก็สามารถเริ่มเรียนฟรีไดฟ์ได้เหมือนแต่ ควรเริ่มเรียนในระดับ Basic Freedive ก่อน เพื่อเรียนรู้ทักษะการว่ายน้ำแล้วการเอาตัวรอดบนบิ้วน้ำเบื่องต้น ก็จะสามารถดำน้ำฟรีไดฟ์ได้โดยที่ว่าน้ำไม่เป็น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความปลอดภัยจะขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองการทำกิจกรรมทางน้ำทักษะการว่ายน้ำพื้นฐานควรจะมีกันในทุกคนเพื่อรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทางโรงเรียนจึงแนะนำว่าหากเรียนฟรีไดฟ์ไปแล้วเกิดความหลงใหลชื่นชอบในการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ ควรหาที่เรียนว่ายน้ำเพิ่มเติมหรือฝึกซ้อมทักษะการว่ายให้ดีขึ้นว่าเดิม เพื่อความปลอดภัยโดยสมบูรณ์

อายุเท่าไหร่ถึงเรียนฟรีไดฟ์ได้?2021-06-10T13:38:34+07:00

ภายใต้ข้อกำหนดหลักสูตรของโรงเรียน ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือ 16-17 ปีโดยที่มีผู้ปกครองยินยอม สามรถเริ่มเรียนฟรีไดฟ์ในหลักสูตของเราได้ อายุมากที่สุดไม่มีกำหนด ถ้าคุณคิดว่าคุณอายุเยอะแล้วแข็งแรงอยากเปิดประสบกาณ์ใหม่ให้ชีวิตคุณก็สามารถเข้าร่วมคอร์สฟรีไดฟ์ได้

อยากเรียนฟรีไดฟ์ ต้องเริ่มต้นยัง?2021-06-10T13:37:40+07:00

การเริ่มเรียนฟรีไดฟ์ในขั้นแรก จะสามารถเริ่มเรียนได้ 2 คอร์ส Basic Freedive หรือ Freediver ในระดับแต่ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการทำกิจกรรมหรือสภาพของร่างกาย ความแต่กต่างดูในลายละเอียดคอร์สเรียนได้ หลักผ่านหลักสูตรแล้วก็เรียนในระดับต่อไปได้ Advande Freediver และ Master Freediver ในระดับถัดไปสำหรับคนที่อยากทำเป็นอาชีพหรือเพิ่มทักษะความรู้มากขึ้น เรียนระบ Freedive Instructor ได้

ฟรีไดฟ์คืออะไร?2021-06-10T13:37:05+07:00

การดำดิ่งลงไปในน้ำลึกด้วยลมหายใจเดียวและไม่มีเครื่องช่วยหายใจ ฟรีไดฟ์เป็นกีฬาทางน้ำประเภทหนึ่งจัดอยู่ในกีฬาผาดโผน นั่นหมายความว่าการเล่นกิจกรรมชนิดนี้มีความเสี่ยงอาจที่เกิดอันตรายกับร่างกายและชีวิตของเราได้ ฟรีไดฟ์จะใช้การควบคุมร่างกายและจิตใจในการดำดิ่งสู่ทะเลและกลับขึ้นมาได้อย่างปลอดภัย ฟรีไดฟ์ยังมีการแข่งขันเพื่อทำสถิตในการดำน้ำ

Contact

Go to Top