เรียนมาแล้วฝึกซ้อมยังไงต่อ ให้กลั้นหายใจได้นานขึ้น เมื่อเรามีเป้าหมายแล้วก็อย่าหยุด หมั่นฝึกซ้อมต่อไป
หลายคนที่เรียนฟรีไดฟ์ คงได้เรียนกันมาแล้ว กับเรื่องของการ Breath Hold
การทำ Static Anea จะให้ไปซ้อมในน้ำหรือทะเลทุกวันก็ไม่ได้ เราไม่ได้เป็นถึงนักกีฬามืออาชีพ แต่ก็อยากพัฒนา มีอีกมีวิธีนึ่ง ที่เราสามารถฝึกบนได้เหมือนกัน จริงๆ ที่นิมยมฝึก ก็เพื่อให้เรากลั้นหายใจได้นานขึ้น
CO2 และ O2 Tolerance Table
CO2 Tolerance Table ตารางฝึกความทนทานต่อคาร์บอนไดออกไซด์ แปลตรงๆ เลย วิธีการฝึกอันนี้ จะทำให้ร่างกายของเราทนต่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นได้นั้นเอง เวลาเรากลั้นหายใจเราใช้พลังงาน ออกซิเจน ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ พอร่างกายมีคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินกว่าระดับปกติ กระบังลมเราก็จะกระตุกเพื่อเตือนให้เราหายใจหรือเราเรียกกันว่า Contraction
พอเราฝึก CO2 ไปเรื่อยๆ แล้ว Contraction เราก็จะมาช้าขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับที่เราฝึก ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เรา Relax และเพิ่มระยะเวลาการกลั้นหายใจได้ขึ้นมาอีก
ส่วนหลักการตารางในการฝึก CO2 Tolerance Table จะมีการปรับ Breath ให้ลงลงมาเรื่อยๆ แต่ Hold ยังคงที่ การที่เรา Breath หรือในช่วง Recovery มีเวลาน้อยลง ทำให้เรามีคาร์บอนไดออกไซด์สะสมอยู่ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ระยะกลั้นเท่าเดิม ก็เลยทำให้ร่างกายเรียนรู้ที่จะปรับให้ทนต่อคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูง
การเวลาตั้ง Breath มาตรฐานสำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ๆ 2 นาที 30 วินาที และปรับลงมาเรื่อยๆ ทีละ 15 วินาที จนครบ8รอบ (ไม่ควรฝึกเกิน 8 รอบ) ส่วน Hold ให้อยู่ที่ 50-70% ของระยะเวลา PB (Personal best) ของเรา มีวิธีคิดง่ายๆ สมมุติ PB เราอยู่ที่ 2 นาที Contraction มาตอน 1 นาที 30 วินาที ให้ตั้ง Hold ไว้ที่ 1 นาที เพราะว่าเราจะทนกับ Contraction แค่30วิเท่านั้นไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ทำแบบนี้ ครบ 8 รอบ วันละ 1 ครั้งพอ ทำจนกว่าทั้ง 8 รอบ ไม่ควรหยุดหรือพักระหว่างทางซึ่งจะทำให้การฝึกนั้นไร้ประโยชน์ เมื่อเราไม่มี Contraction มาจึงค่อยปรับ Hold เพิ่มขึ้นครั้งละ 5-10 วินาที เป็น 1 นาที 10 วินาที ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เวลา PB เราก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก (เทคนิคการเซ็ทHold ไม่ควรทนกับ Contraction มากกว่า1นาทีในขั้นต้น การฝืนตัวเองมากเกินไปร่างกายจะต่อต้านในการฝึกต่อไปจะทำไรต่อก็จะไม่ได้ผล เราเรียกว่า Over Training) การฝึก สามารถฝึกได้ทุกวัน และควรหยุดพัก อาทิตย์ละ 1 ครั้ง หรือ ทุกๆ 1 อาทิตย์ครบรอบ ควรทำ Static เพื่อเช็คผลลัพธ์ของการฝึกด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นการตั้วเวลา Breath ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการฝึกแต่ละคนอีกที่ อันนี้เป็นแค่ค่ามาตรฐานเริ่มต้นเท่านั้น 1:45, 1:30, 1:00 ก็ทำได้ แต่รูปแบบตารางก็ต้องเปลี่ยน มีการคำนวณขึ้นใหม่เพื่อความเหมาะสมอีกครั้ง
อย่างในกรณีตัวอย่าง เช่น ตั้ง Breath เริ่มที่ 1 นาทีแล้วลดลงมาทีละ 5 วินาที จนถึง 30 วินาที จะได้แค่ 6 รอบ เป็นการเร่งให้คาร์บอนไดออกไซด์สูงไวขึ้น เกิดกว่า 6 รอบ ก็อาจจะหนักเกินไปสำหรับร่างกาย ใครจะลองใช้วิธีนี้ก็ได้แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของครูฝึกหรือได้รับคำแนะนำจากครูฝึกระหว่างทำด้วย และ Breath ก็ไม่ควรต่ำกว่า 30 วินาทีในขั้นต้น หลังจากนี้คาร์บอนไดออกไซด์จะเหลือเยอะเกินกว่าที่เราจะทนไหว ถ้าฝืนไปร่างกายจะต่อต้านจนเกิด Over Training ส่วน Hold ควรเซ็ทให้มี Contraction แค่ 30 วินาทีเท่านั้น พอ PB ถึง 4 นาที ให้กลับไปใช้ค่ามาตฐาน เพื่อร่างกายได้มีการ Recovery ที่เพียงพอต่อการกลั้นหายใจที่นานขึ้น
O2 Tolerance Table ตารางฝึกความอดทนต่อระดับของออกซิเจนที่ต่ำ (Hypoxic) เป็นการฝึกทำให้ร่างกายทนต่อระดับออกซิเจนที่ต่ำได้นั้นเอง เวลาที่ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ จะทำให้เกิด อาการ Hypoxic ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำก็มีอาการตามมา เช่น LMC/Samba (mind hypoxic) สุดท้ายเลยเหลือต่ำกว่า 45-50% ก็ Blackout ไป ระดับอาการพวกนี้ก็แล้วแต่คนอีก บางคนข้ามขั้นไป Blackout กันไปเลย เนื่องจากร่างกายไม่คุ้นเคยกับสภาวะของร่างกายที่ต่ำกว่าปกติจึงเกิดการป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดอันตรายไปมากกว่านี้ สมองเกิดการสับสนว่าจะต้องทำยังไง o2 ต่ำ co2 ก็สูง ร่างกายเลยเลือกที่จะปิดตัวเองไปก่อน แต่ถ้าดำน้ำกันอยู่บ่อยๆ มีการฝึกฝน อาการก็จะมาเป็นลำดับ ทำให้เรารับมือกับอาการพวกนี้ได้ก่อนที่จะเกิด ก็จะมีตารางฝึกนี้ที่จะทำให้ร่างกายทนกับออกซิเจนต่ำได้ คำว่า “ต่ำ” คือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติที่มนุษย์อย่างเราจำเป็นต้องใช้
หลักการตั้งค่าตาราง O2 จะตรงข้ามกับ Co2 เวลา Breath เราจะตั้งไว้คงที่ที่ 2 นาที เวลา Hold จะเริ่มตั้ง 50% ของ PB และก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆในแต่ละรอบครั้งละ 10-15 วินาที จนครบ 8 รอบเหมือนเดิมครับ สมุติว่า PB อยู่ที่ 2 นาที Contraction มาที่1:30 วินาที ก็ตั้งเริ่มจาก 45 วินาที เพิ่มขึ้นไปทีละ 15 วินาที รอบต่อไปก็ 1 นาที > 1 นาที 15 วิ > จนไปถึงรอบสุดท้ายก็จะได้ 2 นาที 30 วินาที เมื่อเรามีเวลา Breath ที่คงที่ทำให้ร่างการมีออกซิเจนที่เท่ากัน แต่การที่เราเพิ่มเวลากลั้นหายใจมากขึ้นจะทำให้ร่างกายเข้าถึงจุดออกซิเจนที่ต่ำได้นั้นเอง ก่อนที่จะถึงจุดที่ร่างกายจะรู้สึกว่าออกซิเจนนั้นต่ำได้ แน่นอนเราต้องเจอสภาวะ Hypocapnia ก่อน จึงมีอาการแดสงของ Contraction เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ก็สูงขึ้นตาม การทำแบบนี้จึงทำให้เราต้องรู้สึก Relax กับ Contraction ให้ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน ตารางถึงได้หยุดอยู่ที่ 85% เท่านั้น ถ้ามากกว่านั้น Contraction ก็จะแรงขึ้นทำให้เราเหนื่อยง่ายและจะไม่สงบ แต่ถ้าใครที่เริ่มฝึก Co2 มาแล้ว Relax กับ Contraction ได้บ้างแล้ว แนะนำให้เพิ่ม % ตอนเริ่มต้นขึ้นมาได้เลยคับแต่ก็ไม่เกิน 60% ไม่งั้นตารางทะลุ 100% ก็จะเท่ากับว่าไปฝืนร่างกายในการเรียนรู้มากเกินไป ก็จะเกิดอาการต่อต้านได้เช่นกัน เพราะจะมีการฝืนตัวเองเพื่อให้ถึงเวลาที่กำหนดซึ่งมันเกินขีดจำกัดไปมาก เช่น จากที่เราเริ่มกันที่ 45 วินาที ก็มาเริ่มที่ 50 หรือ 55 วินาทีเลยก็ได้ ทั้งหมดนี้ก็ทำจนกว่า Contraction เรามาช้าลงบ้างและเราจะรู้สึก Relax กับ Contraction ที่เกิดขึ้นได้ หมายความว่าทั้ง 8 รอบ กระบังลมกระตุกเบาลงทุกรอบ ไม่มีรอบไหนที่กระตุกแรงและรู้สึกไม่สบายตัวก็ขยับเพิ่มเวลาขึ้นมาได้ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นตั้งค่าตารางเวลา O2 จะต้องสอดคล้องกับผล PB ที่เราได้จากการฝึก Co2 ด้วย
สุดท้ายแล้ว ในความเป็นมนุษย์ของเราจะทนกับระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงไม่ได้ ก่อนที่จะรู้สึกว่าระดับออกซิเจนมันต่ำ เพราะฉะนั้นแนะนำคนที่เริ่มฝึกใหม่ๆ ควรเริ่มจาก Co2 ก่อน พอรู้สึกว่าเราทนกับ Contraction ที่สูงได้แล้ว รู้สึกสบายตัวกับอาการ Contraction จึงค่อยมาเริ่มฝึก O2 โดยสามารถฝึกได้ฝึกทุกวันเช่นกัน ก็จะเห็นการพัฒนาการได้ไว แต่ไม่ควรฝึก 2 อย่างในวันเดียวกันควรเลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น จะวันเว้นวัน หรือ 3 วัน O2 อีก 3 วัน Co2 ก็ควรมีเวลาให้ร่างกายได้พักสัก 1 วันใน 1 อาทิตย์นั้นด้วย เหมือนการออกกำลังกายฟิตเนสทุกวันก็ไม่เห็นผล ให้ร่างกายได้พักเพื่อเรียนรู้และพัฒนาได้
Share This Post!
About the author : admin
One Comment
Leave A Comment
ฟรีไดฟ์ได้มีการแบ่งประเภทออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภท ตามลักษณะการกลั้นหายใจ
Static Apnea – กลั้นหายใจอยู่กับที่ หนึ่งลมหายใจกลั้นให้ได้นานที่สุด
Dynamic Apnea with fins – ดำนำในแนวระนาบ หนึ่งลมหายใจไปให้ได้ไกลที่สุด โดยใช้ฟิน
Dynamic Apnea nofin – ดำนำในแนวระนาบ หนึ่งลมหายใจไปให้ได้ไกลที่สุด โดยไม่ใช้ฟิน
Free Immersion – การดึงเชือกลงไปในความลึกและดึงเชือกกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ
Constant Weight with fins – ดำน้ำดิ่งลงไปและว่ายกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ สามารถจับเชือกได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้นตอนกลับตัว โดยใช้ฟิน
Constant Weight nofin – ดำน้ำดิ่งลงไปและว่ายกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ สามารถจับเชือกได้แค่ครั้งเดียวเท่านั้นตอนกลับตัว โดยไม่ใช่ฟิน
Varible Weight – ใช้อุปกรณ์น้ำหนักพาลงไปในความลึก กลับขึ้นมาโดยการว่ายหรือดึงเชือก
No Limits – ใช้อุปกรณ์น้ำหนักลงไปในความลึก และกลับขึ้นมาด้วยอุปกรณ์
ในคอร์สเรียนนักเรียนทุกคนจะได้เรียนในทุกประเภท ในแต่ระดับของฟรีไดฟ์ที่เข้าร่วมหลักสูตร
แน่นอนกีฬาผาดโผน มีความอันตรายแฝงอยู่แล้ว ซึ่งฟรีไดฟ์ก็เช่นกัน มีความอันตรายมากมายในระหว่างที่กิจกรรมเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหมดสติระหว่างการกลั้นหายใจใต้น้ำหรือผิวน้ำก็ตาม เกิดอาการชักบนผิวน้ำ ได้รับการบาดเจ็บจากแรงดัน หู จมูก ปอด ซึ่งแต่ละอย่างอันตรายน้อยจนถึงระดับรุนแรง อาจไม่สามารถดำน้ำต่อได้หรือเสียชีวิต แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปถ้าคุณได้เรียนฟรีไดฟ์อย่างถูกต้องและถูกวิธี เราสามารถหลีกเลี่ยงความอันตรางท่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งในคอร์สเรียนของเราจะมีการสอนให้เข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุไม่ให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน การเรียนฟรีไดฟ์อย่างถูกวิธีและทำให้เข้าใจฟรีไดฟ์ได้อย่างลึกซึ้ง คุณก็จะสามารถดำน้ำได้ด้วยความปลอดภัย
ทางโรงเรียนมีครูฝึกที่ได้รับรองจากองค์กรฟรีไดฟ์ AIDA ในระดับสากลที่มีมาตรฐานสูงสุด และ Molchanovs นักเรียนทุกคนที่ผ่านหลักสูตรเรียบร้อยแล้วจะได้รับไปรับรองจากหลักสูตรฟรีไดฟ์ที่คุณได้รับเรียน เว้นแต่คุณจะไม่ผ่านเกณฑ์และครบเวลาที่หลักสูตรกำหนด
Wetsuit เป็นอีกอย่างที่ใช้ในการฟรีไดฟ์ เวทสูททำหน้าที่ช่วยคุมอุณหภูมิในร่างกายไม่ให้หนาวเย็นเวลาอยู่ในน้ำที่นาน และยังช่วยป้องกันสัตว์มีพิษในทะเลได้อีกด้วย สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ในระหว่างเรียนทางโรงเรียนมีเวทสูตรให้เช่าสำหรับคนที่หนาวง่ายเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียน แต่ถ้าออกไปดำน้ำเที่ยวเล่นทั่วไปการที่ได้ใส่เวทสูตรหรือชุดแขนยาวขายาว ก็สามารถป้องกันสัตว์มีพิษในทะเลได้เช่นกัน ในระดับต่อไปจริงจังกับกิจกรรมฟรีไดฟ์มีการออกซ้อมบ่อยๆ ก็ควรมีเวทสูทติดตัวไว้อย่างน้อยหนึ่งตัวก็ดี
เริ่มต้นในคอร์สเรียนทางโรงเรียนได้จัดอุปกรณ์ทั้งหมดในการเรียนฟรีไดฟ์ไว้หมดแล้ว นักเรียนสามารถใช้และได้ลองอุปกรณ์ต่างๆได้โดยที่ยังไม่ต้องซื้อมาก่อนเริ่มเรียน ถ้ารู้สึกชอบและอย่างจริงจังกับกิจกรรมนี้ก็สามารถซื้ออุปกรณ์เป็นของตัวเองได้เช่นการ ทางโรงเรียนก็มีร้านพันธมิตรซึ่งมีส่วนลดในการซื้อสินค้าฟรีไดฟ์ให้กับนักเรียนทุกคน และทางครูกับสตาฟภายในโรงเรียนพร้อมให้คำปรึกษากับการเลือกซื้ออุปกรณ์ให้ถูกวัตถุประสงค์ในการใช้งานกับราคาที่คุ้มค่าที่จะต้องจ่าย เพื่อใหม่ได้สินค้าในราคาที่ไม่แพงเกินไป
การเรียนฟรีไดฟ์แน่นอนสามารถเรียนคนเดียวได้ ไม่จำเป็นต้องมีเพื่อนมาเรียนด้วยก็ได้ เพราะในคราสเรียนคุณจะได้พบเจอเพื่อนๆใหม่ที่สนใจกิจกรรมแบบเดียวกับคุณ ทำให้คุณได้มิตรภาพใหม่กลับไปและออกไปดำน้ำด้วยกันได้ การดำน้ำแบบฟรีไดฟ์มีกฏเหล็กสำหรับการดำน้ำอยู่คือ “Never Dive Alone” ห้ามดำน้ำคนเดียวเด็ดขาด ต้องมีคู่ดำน้ำเสมอ เพื่อความปลอดภัยทั้งสองคน การออกไปดำน้ำเที่ยวเล่นทั่วไปก็ควรมีเพื่อนออกไปดำน้ำด้วย ห้ามไปคนเดียวเด็ดขาดไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุและไม่สามารถมีใครช่วยเหลือเราได้
การกลั้นหายใจได้นาน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่นการหายใจให้ถูกวิธีในแบบของฟรีไดฟ์ ทักษาะการผ่อนคลาย การเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนที่เริ่มกลั้นหายใจ และการฝึกซ้อมอย่างถูกวิธีเพื่อพัฒนาศักยภาพร่างกายให้ดีขึ้นไป ทั้งหมดนี้มีอยู่ในคอร์สเรียนของเราซึ่งคนที่ได้เข้าคอร์สเรียนจะได้รับการอบรมในเนื้อหาส่วนนี้
การเรียรฟรีไดฟ์ ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปที่ทุกคนจะสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้ ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับทักษาะการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่าจะไปพัฒนาไปได้เร็วและดีแค่ไหน ซึ่งแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป ในคอร์สเรียนได้กำหนดวันเรียนไว้อย่างน้อย 1 วันที่ทำให้คุณเรียนรู้ทักษะของฟรีไดฟ์เบื้อต้นทั้งหมด แต่ถ้ายังไม่สามารถทำได้ดีหรือยังไม่ได้ ก็สามารถเรียนซ้ำได้กับทางโรงเรียนของเรา จะไม่ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคอร์สเรียนใหม่ที่เกิดขึ้น ทางโรงเรียนมีนโยบาย ให้คนที่เรียนกับทางเราได้รับข้อมูลและการปฏิบัติอย่างครบถ้วน เพราะอย่างนั้นไม่ต้องกังวลไป ทำไม่ได้ก็กลับมาเรียนซ้ำใหม่ได้จนกว่าคุณจะสำเร็จผ่านตามเกณฑ์ของหลักสูตรไปได้
ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงหรือมีโรคประจำตัวบางอย่างก็จะสามารถเรียนได้เช่นกัน โรคประจำตัวที่ไม่สามารถเรียนได้ คือ โรคความดั่นโลหิตต่ำ โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคเกี่ยวกับปอด โรคภาวะติดเชื้อรุนแรง โรคประสาทขั้นรุนเรง เป็นต้น ส่วนบุคคลที่ร่างกายไม่แข็งแรงมากก็สามารถเรียนได้ฟรีไดฟ์จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นได้ แต่การเล่นกีฬาก็ควรหมั่นทำให้ร่างกายแข็งแรงและปลอดโรคจะดีที่สุด
บุคคลที่ว่ายน้ำไปเป็นก็สามารถเริ่มเรียนฟรีไดฟ์ได้เหมือนแต่ ควรเริ่มเรียนในระดับ Basic Freedive ก่อน เพื่อเรียนรู้ทักษะการว่ายน้ำแล้วการเอาตัวรอดบนบิ้วน้ำเบื่องต้น ก็จะสามารถดำน้ำฟรีไดฟ์ได้โดยที่ว่าน้ำไม่เป็น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความปลอดภัยจะขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองการทำกิจกรรมทางน้ำทักษะการว่ายน้ำพื้นฐานควรจะมีกันในทุกคนเพื่อรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทางโรงเรียนจึงแนะนำว่าหากเรียนฟรีไดฟ์ไปแล้วเกิดความหลงใหลชื่นชอบในการดำน้ำแบบฟรีไดฟ์ ควรหาที่เรียนว่ายน้ำเพิ่มเติมหรือฝึกซ้อมทักษะการว่ายให้ดีขึ้นว่าเดิม เพื่อความปลอดภัยโดยสมบูรณ์
ภายใต้ข้อกำหนดหลักสูตรของโรงเรียน ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป หรือ 16-17 ปีโดยที่มีผู้ปกครองยินยอม สามรถเริ่มเรียนฟรีไดฟ์ในหลักสูตของเราได้ อายุมากที่สุดไม่มีกำหนด ถ้าคุณคิดว่าคุณอายุเยอะแล้วแข็งแรงอยากเปิดประสบกาณ์ใหม่ให้ชีวิตคุณก็สามารถเข้าร่วมคอร์สฟรีไดฟ์ได้
การเริ่มเรียนฟรีไดฟ์ในขั้นแรก จะสามารถเริ่มเรียนได้ 2 คอร์ส Basic Freedive หรือ Freediver ในระดับแต่ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการทำกิจกรรมหรือสภาพของร่างกาย ความแต่กต่างดูในลายละเอียดคอร์สเรียนได้ หลักผ่านหลักสูตรแล้วก็เรียนในระดับต่อไปได้ Advande Freediver และ Master Freediver ในระดับถัดไปสำหรับคนที่อยากทำเป็นอาชีพหรือเพิ่มทักษะความรู้มากขึ้น เรียนระบ Freedive Instructor ได้
การดำดิ่งลงไปในน้ำลึกด้วยลมหายใจเดียวและไม่มีเครื่องช่วยหายใจ ฟรีไดฟ์เป็นกีฬาทางน้ำประเภทหนึ่งจัดอยู่ในกีฬาผาดโผน นั่นหมายความว่าการเล่นกิจกรรมชนิดนี้มีความเสี่ยงอาจที่เกิดอันตรายกับร่างกายและชีวิตของเราได้ ฟรีไดฟ์จะใช้การควบคุมร่างกายและจิตใจในการดำดิ่งสู่ทะเลและกลับขึ้นมาได้อย่างปลอดภัย ฟรีไดฟ์ยังมีการแข่งขันเพื่อทำสถิตในการดำน้ำ
[…] ศึกษา CO2 tolerance เพิ่มเติมได้จากบทความนี้ CO2 และ O2 Tolerance Table […]